พระบรมธาตุเจดีย์ศรีเมืองฉอด สร้างขึ้นเพื่อเป็นการฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พ.ศ.2555) โดยมีแรงบันดาลใจในการจัดสร้าง เป็นรูปแบบผสม ระหว่างไทย เมียนมาร์ และ อินเดีย มีศิลปะการก่อสร้างเจดีย์บริวารรูปแบบวัฒนธรรมไทย (ช่างไทย) ศิลปะปูนปั้นรูปแบบเมียนมาร์ (ช่างพม่า) และรูปทรงหลักจากอินเดีย เจดีย์พุทธคยา ซึงหมายถึงการตรัสรู้ธรรม โดยมีลักษณะโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน โดยสูง 36 เมตร กว้าง 32.60 เมตร มีจำนวนชั้นทั้งหมด 8 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) โดยจุดเด่นด้านในพระบรมธาตุเจดีย์ศรีเมืองฉอดในแต่ละชั้นมีความแตกต่างกัน คือ
ชั้นที่ 1 แสดงลักษณะเมืองบาดาล (นาคพิภพ ) มีพระพุทธเมตตาแกะสลักจากหินสีเขียวอินเดีย หน้าตัก 60 นิ้ว ล้อมรอบด้วยเทวรูปทองสัมฤทธิ์ศิลปะขอม ชั้นนี้ประดิษฐานพระประจำวันเกิด วันอาทิตย์
ชั้นที่ 2 ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระธาตุพนมหลังเต่ามังกร ความหมายเต่ามังกร พระครูเมธากิจโกศลผู้สร้าง ถิ่นกำเนิด อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สถิตราศีมังกรเกิดปีนักษัตร ปีวอก พระธาตุประจำปีเกิด พระธาตุพนม ในชั้นนี้นอกจากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ยังมี อัฐิ และ เกศา ครูบาอาจารย์ องค์ สำคัญหลายองค์ เช่น อัฐิครูบาศรีวิชัย เป็นต้น นอกจากนั้นในชั้นนี้ ส่วนหนึ่งยังปูพื้นด้วยเม็ดหยกเพื่อให้นั่งสมาธิโดยมีเม็ดหยกช่วยในการกดจุดอีกด้วย ชั้นนี้ประดิษฐานพระประจำวันเกิด วันจันทร์ ฝาพนังประดับด้วยรูปภาพที่มีทุกบ้านเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ภาพได้รับมอบจากชาวบ้านทุกหลังคาเรือน ) เพื่อมาเก็บรวบรวมไว้ที่วัด
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานพระประจำวันเกิด คนเกิดวันอังคาร
ชั้นที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระประจำวันเกิด คนเกิดวันพุธ
ชั้นที่ 5 เป็นที่ประดิษฐานพระประจำวันเกิด คนเกิดวันพฤหัสบดี
ชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระประจำวันเกิด คนเกิดวันศุกร์
ชั้นที่ 7 เป็นที่ประดิษฐานหัวใจพระบรมธาตุเจดีย์ศรีเมืองฉอด ซึ่งหล่อด้วยเงิน น้ำหนัก 51 กิโลกรัม และเป็นที่ประดิษฐานพระเก่าแก่ของทางวัด และ พระประจำวันเกิด วันเสาร์